เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 2. ปัญจัตตยสูตร

2. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่ซึ่งไม่มีรูปว่ายั่งยืน
หลังจากตายแล้วบ้าง
3. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่ ทั้งที่มีรูปและไม่มี
รูปว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
4. บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ มีสัญญาก็มิใช่ มีรูปก็มิใช่ ไม่มี
รูปก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วบ้าง
ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งบัญญัติการเข้าถึงอายตนะ1
นี้ ด้วยเหตุเพียงสิ่งที่พึงรู้แจ้ง2โดยได้เห็นได้ยินและได้ทราบสังขาร3 การบัญญัติ
ของสมณะหรือพราหมณ์เช่นนี้ เขากล่าวว่าเป็นความพินาศของการเข้าถึงอายตนะนี้
ความจริงอายตนะนี้ บัณฑิตไม่กล่าวว่าพึงบรรลุด้วยการมีสังขาร แต่ท่านกล่าวว่า
อายตนะนี้พึงบรรลุด้วยการมีสังขารที่เหลือ4
สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้

อุจเฉทวาทะ

[25] ภิกษุทั้งหลาย ในอุจเฉทวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่า
หนึ่งบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดขึ้นของสัตว์ที่มีอยู่
ในอุจเฉทวาทะเหล่านั้น สมณพราหมณ์ผู้มีอุจเฉทวาทะพวกหนึ่งคัดค้าน
สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วเหล่านั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 2. ปัญจัตตยสูตร

คัดค้านแม้สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติอัตตาที่ไม่มีสัญญาว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้ว
เหล่านั้น คัดค้านแม้สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติอัตตาที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มี
สัญญาก็มิใช่ว่ายั่งยืนหลังจากตายแล้วเหล่านั้น
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้แม้ทั้งหมด ย่อมถือการเวียนว่ายในชาติหน้า
กล่าวยืนยันความหวังอย่างเดียวว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้ เราละโลกนี้
ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้’
พ่อค้าไปค้าขายย่อมมีความหวังอย่างนี้ว่า ‘เราจักมีกำไรจากการค้าเท่านี้
เพราะการค้าขายเที่ยวนี้ เราจักได้กำไรเท่านี้’ ฉันใด สมณพราหมณ์เหล่านี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นจะหวังกำไรกลับคืนเหมือนพ่อค้าว่า ‘เราละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้
เราละโลกนี้ไปแล้ว จักเป็นเช่นนี้’
ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรู้ทิฏฐินี้นั้นเป็นอย่างดี
สมณพราหมณ์พวกที่บัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความไม่เกิดขึ้นของ
สัตว์ที่มีอยู่ เป็นผู้กลัวสักกายะ1 รังเกียจสักกายะ วนเวียนไปตามสักกายะอยู่นั่นเอง
เปรียบเหมือนสุนัขที่เขาใช้โซ่ล่ามผูกไว้ที่เสาหรือที่หลักอย่างมั่นคง ย่อมวิ่งวน
เสาหรือหลักนั่นเอง ฉันใด สมณพราหมณ์เหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้กลัว
สักกายะ รังเกียจสักกายะ วนเวียนไปตามสักกายะอยู่นั่นเอง
สิ่งนี้นั้นยังถูกปัจจัยปรุงแต่ง จึงชื่อว่าหยาบ และความดับของสิ่งที่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่งก็มีอยู่ ตถาคตรู้ว่า ‘ความดับนี้มีอยู่’ เห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดสิ่งที่ถูก
ปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงล่วงพ้นสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั้นได้ ด้วยอาการอย่างนี้